ในช่วงปี 2019 ‘Big Data’ คือคำยอดฮิตที่ถูกพูดถึงเป็นอย่างมากในโลกธุรกิจ แต่จากสถิติของ Google Trend ในปี 2022 พบว่าคำค้นหาเกี่ยวกับหัวข้อ Big Data ในประเทศไทยลดลงเป็นอย่างมากในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งในทางกลับกันการนำ Big Data ไปปรับใช้จริงของภาคอุตสาหกรรมเป็นสิ่งที่กำลังเริ่มต้นขึ้นแสดงให้เห็นว่า Big Data ไม่ใช่แค่เทรนด์ใหม่อีกต่อไป แต่กลายเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่ทุกอุตสาหกรรมจำเป็นต้องนำไปปรับใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจและเป็นหัวใจสำคัญของการเปลี่ยนองค์กรแบบเก่าให้เป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล
Big Data คือข้อมูลมหาศาลที่ถูกรวบรวมจากหลายแหล่งที่มา (Data Source) และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการทำธุรกรรมของลูกค้า ข้อมูลการใช้งานอุปกรณ์เครือข่าย ข้อมูลพฤติกรรมการซื้อสินค้า ข้อมูลการทำงานของเครื่องจักร ข้อมูลการเข้าใช้บริการ รวมไปถึงข้อมูลพนักงานภายในองค์กร โดยข้อมูลเหล่านี้คือข้อมูลที่รอการนำไปต่อยอด ผ่านการวิเคราะห์และประมวลผลโดยเทคโนโลยีหรือระบบอัตโนมัติ ซึ่ง Big Data ถือเป็นเทคโนโลยีที่สร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้กับองค์กรในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นช่วยยกระดับระบบการทำงานในรูปแบบเดิม ๆ ขององค์กรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ช่วยในการตัดสินใจและวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ ช่วยสร้างการเติบโตทางรายได้ ช่วยสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และพประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีกมากมาย สอดคล้องกับข้อมูลสถิติของ NewVentage Partners ปี 2022 พบว่า 92% ของบริษัทกล่าวว่าได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าจากการลงทุนใน Big Data and AI
ปัจจุบัน Big Data ถูกนำไปใช้ในแทบจะทุกธุรกิจ ตั้งแต่ธุรกิจธนาคาร ประกันภัย โทรคมนาคม สุขภาพ ยานยนต์ น้ำมันและก๊าซ รวมถึงธุรกิจค้าปลีก แต่ในขณะเดียวกันหลายองค์กรยังต้องเผชิญกับ Pain Points และปัญหาในการทำ Big Data ที่ทำให้ไม่สามารถผลักดันโปรเจค Big Data ให้ประสบความสำเร็จได้
ปัญหาที่ 1: การลงทุนด้าน Big Data มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง
จากการสำรวจผู้บริหารระดับสูง โดย NewVantage Partners ปี 2019 พบว่า 55% ของบริษัทกล่าวว่าการลงทุนใน Big Data และ AI ต้องใช้เงินมากกว่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐ สอดคล้องกับองค์กรในประเทศไทยที่มีการลงทุนค่อนข้างสูงในการทำ Big Data ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้าน Big Data โดยเฉพาะ บวกกับขั้นตอนการจัดการ Big Data แบบเดิมที่ซับซ้อน ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในส่วนของ Software และ Hardware ที่สูงตามไปด้วย ส่งผลกระทบต่อต้นทุนโดยรวมของทั้งโครงการ (Total cost of ownership) ทำให้การทำ Big Data ถูกจำกัดอยู่แค่องค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น
ปัญหาที่ 2: วัฒนธรรมองค์กร บุคลากร และขั้นตอนการทำงานภายในองค์กร คือปัจจัยหลักที่ทำให้การทำ Big Data ไม่ประสบความสำเร็จ
จากข้อมูลสถิติของ NewVantage Partners ปี 2022 ชี้ให้เห็นว่าบริษัทต่าง ๆ ถึงจุดอิ่มตัวและมั่นใจในความสามารถในการใช้ข้อมูลของตนเองแล้ว แต่ในปี 2022 มีเพียง 27% ของบริษัททั้งหมดที่สร้าง “องค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล” สำเร็จ และ 19% ของบริษัททั้งหมดสร้าง “วัฒนธรรมการนำข้อมูลมาใช้ช่วยตัดสินใจทางธุรกิจ“ สำเร็จ นอกจากนี้ NewVentage Partners ได้ระบุเพิ่มเติมว่าอุปสรรคทางวัฒนธรรมองค์กรยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูล โดย 91.9% ของผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่านี่เป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่
จากตัวเลขสถิติทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีไม่ใช่อุปสรรคในการ Big Data อีกต่อไป แต่สิ่งที่เป็นอุปสรรคโดยแท้จริง กลับเป็นปัจจัยที่เกิดจากวัฒนธรรมขององค์กร บุคลากร และขั้นตอนการทำงานภายในองค์กร เนื่องจากบุคลากรส่วนใหญ่ในประเทศไทยยังขาดความรู้ความสามารถในการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจ และอาจยังคุ้นชินกับระบบการทำงานแบบเดิม ๆ รวมถึงการใช้ข้อมูลยังถูกตีกรอบให้เป็นเพียงหน้าที่ของผู้บริหารหรือทีม Business ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ซึ่งเป็นความท้าทายขององค์กรที่จะต้องวางรากฐานให้บุคลากรทุกคน ทุกฝ่าย มีความรู้ความเข้าใจในการใช้ข้อมูล ทั้งในด้านของการใช้เครื่องมือและการวิเคราะห์ เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในระยะยาวและปรับเปลี่ยนเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลอย่างยั่งยืน
ปัญหาที่ 3: การปรับเปลี่ยนองค์กรแบบเก่าให้เป็น ‘องค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล’ ต้องใช้เวลามากถึง 2-3 ปี
จากข้อมูลสถิติของ NewVantage Partners ปี 2022 พบว่า 60% ของบริษัทต้องใช้เวลา 2-3 ในการเปลี่ยนเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ซึ่งในประเทศไทยเองก็พบปัญหาจากการทำ Big Data ในรูปแบบเดิม คือเมื่อองค์กรต้องการรวบรวม จัดการ วิเคราะห์ ประมวลผล หรือนำข้อมูลไปใช้นั้นจะต้องผ่านขั้นตอนที่ซับซ้อน โดยแต่ละขั้นตอนก็มีการใช้เครื่องมือในการจัดการที่ต่างกัน บวกกับต้องอาศัยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านเข้ามาช่วย ซึ่งทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดปัญหาความซับซ้อนของการจัดการโครงสร้างพื้นฐานข้อมูล ทำให้กว่าที่องค์กรจะทำโปรเจค Big Data ได้สำเร็จนั้นต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความสามารถขององค์กรในการแข่งขันทางธุรกิจ
ปัญหาอื่น ๆ:
• องค์กรมีข้อมูลมหาศาลอยู่ในมือ แต่เต็มไปด้วยข้อมูลที่ไม่มีคุณภาพ
• การเข้าถึงข้อมูลถูกจำกัดเพียงแค่ผู้บริหาร ทีม IT หรือทีม Business เท่านั้น ไม่ใช่บุคลากรทุกคนที่จะสามารถเข้าถึงข้อมูลและใช้งานข้อมูลได้ด้วยตนเอง
• ไม่มีการแชร์ข้อมูลระหว่างแผนกในองค์กรและไม่มีการใช้เครื่องมือที่รองรับการแชร์ข้อมูลระหว่างกัน
• องค์กรมีระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่เป็นระเบียบ กระจัดกระจาย ทำให้พลาดข้อมูลบางอย่างหรือไม่รู้ใครมีข้อมูลอะไรอยู่บ้าง ซึ่งอาจทำให้พลาดโอกาสที่ซ่อนอยู่ในข้อมูลเหล่านั้น
• องค์กรขาดพนักงานที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล
จากปัญหาทั้งหมดทำให้การทำ Big Data ถูกจำกัดอยู่แค่ธุรกิจขนาดใหญ่ รวมทั้งบางองค์กรต้องล้มเลิกโปรเจคไป หรืออาจใช้เวลานานเกินไปจนสูญเสียค่าใช้จ่ายและสร้างภาระงานให้กับบุคลากร ซึ่งนั่นคือความท้าทายที่ทุกองค์กรต้องพยายามก้าวข้ามไป เพราะ Big Data คือเทคโนโลยีสำคัญที่ไม่สามารถมองข้ามได้ องค์กรจึงต้องมองหาเทคโนโลยี โซลูชัน และวิธีการจัดการที่ได้ประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปต่อยอดทางธุรกิจและพร้อมรับมือทุกการแข่งขันที่ดุเดือดในโลกดิจิทัล
Blendata Enterprise – Simplify Big Data Platform ช่วยธุรกิจก้าวข้ามความท้าทายในการใช้ Big Data ด้วยระบบที่ตอบโจทย์ทุกขั้นตอนการจัดการ Big Data ตั้งแต่รวบรวมข้อมูล จนถึงการนำข้อมูลไปใช้ ในแบบ Code-free พร้อมจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่แบบ Real-time ช่วยเพิ่มศักยภาพให้ธุรกิจพร้อมสำหรับทุกการแข่งขันด้วยเวลาที่รวดเร็ว ลดเวลาและลดความซับซ้อนในการเข้าถึงข้อมูล แม้ผู้ใช้งานไม่มีความรู้ด้าน IT หรือ Big Data ให้ทุกคนในองค์กรสามารถใช้งานข้อมูลได้อย่างง่ายดายผ่านหน้าเว็บ Browser ด้วยราคาที่สามารถจับต้องได้ ลดการลงทุนทางด้านบุคลากรเทคนิคเฉพาะด้าน ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ ไลเซนส์ และการบำรุงรักษา ช่วยให้องค์กรปรับเปลี่ยนสู่การเป็น Data-Driven Organization ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการรวบรวมทุกฟังก์ชันในการจัดการ Big Data ไว้ในแพลตฟอร์มเดียว แบบ All-in-one อีกทั้งยังสามารถนำข้อมูล Big Data ที่มีอยู่ในมือไปต่อยอดเพื่อยกระดับธุรกิจในด้านอื่น ๆ ได้อย่างอิสระ
ขอบคุณข้อมูลจากคุณกัน ณัฐนภัส รชตะวิวรรธน์ CEO & Co-Founder ของ Blendata ที่ได้รับเชิญให้เป็น Speaker ในงาน G-Able Technology Enabler โดยร่วมพูดคุยและให้ความรู้ในหัวข้อ Why Big Data is More Painful than Stepping on a Lego เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา