รู้หรือไม่!? ‘ข้อมูล’ ที่ใช้วิเคราะห์เพื่อประโยชน์ในด้านต่าง ๆ มาจากแหล่งใดบ้าง?
รู้จักกับ ‘Data Sources’ แหล่งที่มาของข้อมูลในโลกธุรกิจ
ปัจจุบัน เทคโนโลยี Big Data เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตไปสู่เป้าหมาย โดยสร้างโอกาสใหม่ ๆ และสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจ ดังนั้น องค์กรจำเป็นต้องพัฒนาแนวทางในการใช้งาน Big Data อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อตอบโจทย์และให้ประโยชน์สูงสุด
‘ข้อมูล’ มากมายที่หมุนเวียนอยู่ในวงจรธุรกิจ ซึ่งถูกรวบรวมเป็น Big Data และนำไปวิเคราะห์ต่อยอดนั้นมี ‘ที่มา’ จากแหล่งใดบ้าง?
วันนี้ Blendata จะขอยกตัวอย่าง ‘Data Sources’ แหล่งที่มาของข้อมูลที่พบเห็นได้บ่อยในโลกธุรกิจในปัจจุบัน
ตัวอย่างแหล่งที่มาของข้อมูลที่ธุรกิจส่วนใหญ่แล้วจะมีนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ :
- Enterprise Software
- In-house Website/Application
- External Sources
เริ่มที่ตัวอย่าง Data Source ประเภทที่ 1 ที่องค์กรส่วนใหญ่มักจะมีอย่าง Enterprise Software ซึ่งประกอบไปด้วย ERP (Enterprise Resources Planning), SCM (Supply Chain Management), และ CRM (Customer Relationship Management)
- ERP (Enterprise Resource Planning) ซอฟต์แวร์หรือระบบที่ช่วยวางแผนและจัดการระบบที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรทางธุรกิจ เช่น รายงานด้านบัญชีและการเงิน การผลิต ระบบสินค้าคงคลัง ระบบการซื้อ-ขาย ระบบทรัพยากรบุคคล เป็นต้น โดยการเชื่อมโยงและรวมศูนย์ข้อมูลเหล่านี้ให้สามารถมองเห็นเป็นภาพรวม (Visibility) เดียวกัน เพื่อให้สามารถบริหารจัดการระบบทั้งหมดได้อย่างสะดวก ช่วยให้สามารถวางแผน ประเมินผล และตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- SCM (Supply Chain Management) การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานตลอดทั้ง Life cycle เริ่มตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การจัดเก็บ ระบบไอทีที่ใช้ การจัดจำหน่าย จนถึงการขนส่งสินค้า เป็นต้น ระบบ SCM ช่วยให้สามารถวิเคราะห์และวางแผนขั้นตอนการทำงานทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ข้อมูลในแต่ละขั้นตอนจะถูกบันทึกไว้อย่างละเอียดและเป็นระบบ รวมไปถึงสถานะการจัดส่งสินค้า ที่ทำให้สามารถติดตามสถานะและปรับปรุงกระบวนการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีผลสำคัญต่อการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า (Customer experience)
- CRM (Customer Relationship Management) คือระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่จัดเก็บข้อมูลลูกค้าอย่างละเอียด เพื่อเป้าหมายในการดูแลลูกค้าปัจจุบัน ประกอบไปด้วยข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลประชากร (Demographics) เช่น เพศ อายุ Location พฤติกรรมในการซื้อสินค้าและบริการ ปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ เป็นต้น ระบบ CRM ช่วยให้แบรนด์สามารถรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ช่วยให้เข้าใจความต้องการของลูกค้า สร้างความพึงพอใจในการบริการ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อเนื่องจนเกิดเป็นความจงรักภักดีต่อแบรนด์ (Brand loyalty) ช่วยลดปัญหาการสูญเสียลูกค้าเก่าและลดต้นทุนในการทำกลยุทธ์เพื่อหาลูกค้าใหม่ทดแทนอีกด้วย
ตัวอย่าง Data Sources ประเภทที่ 2 ที่หลายองค์กรเริ่มมีแล้วนั้น ประกอบไปด้วยข้อมูลจากแอปพลิเคชันต่าง ๆ บนมือถือและข้อมูลที่รวบรวมได้จากเว็บไซต์ ซึ่งสามารถเรียกข้อมูลเหล่านี้ว่า In-house Website/Application Data
- Mobile App ข้อมูลจาก Mobile application ขององค์กร เป็นหนึ่งในแหล่งข้อมูลที่มีความสำคัญที่ถูกรวบรวมและนำมาใช้วิเคราะห์เพื่อต่อยอดใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งของอุปกรณ์ ข้อมูลการติดต่อลูกค้าผ่านแบบฟอร์มการลงทะเบียน หรือกิจกรรม (Activity) ภายในแอปพลิเคชันของผู้ใช้งาน เป็นต้น
- Web App ข้อมูลจากการใช้งาน Website เป็นหนึ่งในแหล่งข้อมูลที่สำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Web logs เครื่องมือในการบันทึกข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์และการทำธุรกรรมต่าง ๆ รวมถึงการลงทะเบียนผ่านฟอร์ม ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลของลูกค้าที่ช่วยให้แบรนด์ทำการติดต่อไปยังลูกค้าได้ Live chat ที่เป็นช่องทางในการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับลูกค้าเพื่อให้คำแนะนำหรือแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการใช้บัตรเครดิตและพฤติกรรมการชำระเงินของลูกค้า รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของลูกค้า ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้สามารถนำมาวิเคราะห์หาข้อมูลเชิงลึก (Insight) เพื่อต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการของแบรนด์ให้ดียิ่งขึ้น
และตัวอย่าง Data Sources ประเภทที่ 3 ข้อมูลจาก External Sources ประกอบไปด้วย Social Data หรือการฟังเสียงจากโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ของผู้บริโภค ข้อมูลจาก Partner และ Other Third-Party Data
- Social Data คือการเก็บข้อมูลที่ผู้บริโภคกล่าวถึงแบรนด์บน Social media ทุก ๆ แพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, Instagram, TikTok และอื่น ๆ เช่น การพูดถึงแบรนด์และคู่แข่ง การติดแฮชแท็ก บัญชีผู้ใช้งาน วันเวลาที่แสดงความคิดเห็น เป็นต้น โดยนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อสะท้อนเสียงจากผู้บริโภคนั่นเอง ช่วยให้แบรนด์สามารถนำ Feedback ที่ได้ไปพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์หรือการบริการ ปรับปรุงกลยุทธ์การตลาด รวมถึงสามารถสำรวจความเคลื่อนไหวของคู่แข่งเพื่อให้ทันต่อการแข่งขันได้อีกด้วย โดยมักจะต้องมีเครื่องมืออย่าง Social listening ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเหล่านี้ก่อน จึงจะสามารถดึงข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- Partner คือข้อมูลที่เกิดจากการทำข้อตกลงในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างบริษัทในกลุ่มเดียวกัน พาร์ทเนอร์หรือพันธมิตรของแบรนด์ ช่วยแก้ไขข้อจำกัดของแบรนด์ที่มี First-party data น้อย ช่วยให้แบรนด์รู้จักลูกค้าในเชิงลึกและในมุมมองที่กว้างมากขึ้น ผ่าน Data sources ที่หลากหลาย เพิ่มประสิทธิภาพในการทำ Personalized marketing รวมถึงช่วยให้ตัดสินใจเรื่องการพัฒนาสินค้าและกลยุทธ์การตลาดได้ดีขึ้นอีกด้วย
- Other Third-Party Data ข้อมูลจากแหล่งข้อมูล 3rd party จากภายนอกองค์กร อาจเป็นข้อมูลที่มาจาก Open data หรือข้อมูลที่ถูกนำมาขายจากบริษัทข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลด้านสภาพอากาศ สถิติการจ้างงาน ราคาน้ำมัน ผลสำรวจ พฤติกรรมผู้ใช้งาน ข้อมูลประชากร (Demographics) ข้อมูล Audience network หรือข้อมูลจาก Ads network เป็นต้น Third-Party ช่วยให้แบรนด์ได้รับข้อมูลที่หลากหลายและมีจำนวนมาก ช่วยให้เข้าใจเทรนด์และพฤติกรรมของผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น นำไปสู่การตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างแม่นยำมากขึ้น
การที่องค์กรนำรวบรวม Big Data ที่ได้จากแหล่ง Data sources ต่าง ๆ มาวิเคราะห์จะสามารถช่วยสร้างประโยชน์ให้แก่องค์กรได้ในหลากหลายแง่มุม ไม่เพียงแค่ช่วยผลักดันให้เป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data driven) เท่านั้น แต่ยังช่วยให้เข้าใจลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น นำไปสู่การสร้างโอกาสและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจในอนาคต